ในช่วงการแพร่ระบาดของ Coronavirus (โควิด-19) เราจะดูแลให้มีความปลอดภัยได้อย่างไร ? หากคุณเป็นเจ้าของสระว่ายน้ำ ในปัจจุบันคงมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 กันอย่างมาก เราจึงขอนำบทความนี้มาประกอบใช้เป็นข้อมูลเชิงลึกในการแนะนำ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงการดูแลที่เหมาะสมในช่วงการระบาดในปัจจุบันนี้
การแพร่กระจายของโคโรนาไวรัส นั้นสามารถแพร่กระจายผ่านสระว่ายน้ำได้หรือไม่ ? คงจะเป็นคำถามที่เจ้าของสระว่ายน้ำ หรือผู้ใช้งานสระว่ายน้ำมากมายมีความกังวล และอยากทราบคำตอบกันมาก วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกัน ซึ่งจากเว็บไซต์ของ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) หรือศูนย์ควบคุม และป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ ได้มีการระบุไว้ว่า “ไม่มีหลักฐานหรือ การรายงานที่เกิดอันตรายใด ๆ จาก Coronavirus ตราบใดที่มีการดูแลสระว่ายน้ำให้ถูกสุขอนามัยอย่างถูกต้อง”
การว่ายน้ำในสระว่ายน้ำคลอรีน มีความปลอดภัยหรือไม่ ? ซึ่งในส่วนนี้ทาง CDC ก็ได้ระบุไว้เช่นกัน ว่า “การฆ่าเชื้อโรคในน้ำด้วย คลอรีน หรือ โบรมีน จะช่วยกำจัดไวรัสได้” แสดงว่าถ้าหากเรา หมั่นคอยดูแลสระว่ายน้ำ และปรับสภาพน้ำโดยรักษาระดับคลอรีนให้อยู่ที่ระดับ 3 ppm ซึ่งเป็นค่าที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ และทาง CDC ยังแนะนำให้ใช้สารฟอกขาวแบบเจือจางเพื่อฆ่าเชื้อโรคในครัวเรือนอีกด้วย
ข้อควรระวังอะไรในการใช้งานสระว่ายน้ำในช่วงมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ควรทำอย่างไรบ้าง ?
1. หากคุณไม่สบาย หรือมีอาการป่วยไม่ควรลงว่ายน้ำ
ถึงแม้ว่าคลอรีน จะสามารถฆ่าไวรัสได้ก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถรักษาคุณให้หายป่วยจากไวรัสได้ การว่ายน้ำ หรือแช่ตัวในน้ำที่มีคลอรีนไม่ใช่วิธีการรักษาที่ถูกต้อง นอกจากนี้หากคุณมีอาการไม่สบาย หรือเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ การว่ายน้ำอาจสร้างแรงกดดัน และความเครียดให้กับปอดมากจนเกินไป และถ้าหากมีอาหารติดเชื้อไวรัส COVID-19 การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่น้ำอุณหภูมิสูง ๆ อาจทำให้หายใจลำบากกว่าปกติได้ เช่นกัน
2. ไม่ควรอนุญาตให้ใครก็ตามที่ป่วย หรือมีอาการคล้ายการติดเชื้อ COVID-19 ลงว่ายน้ำในเป็นอันขาด
เนื่องจากคนที่ป่วยอาจมีอาการ ไอ และมีการสัมผัสกับราวบันไดสระว่ายน้ำ หรือสัมผัสกับขอบสระว่ายน้ำ และส่วนต่าง ๆ ที่ไม่จมอยู่ในน้ำ จึงทำให้คลอรีนไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ จากนั้นหากคุณ หรือใครก็ตาม สัมผัสส่วนเหล่านั้น แล้วเผลอไปสัมผัสใบหน้า จมูก ตา หรือ ปาก ก่อนล้างมือ ซึ่งมีโอกาสที่คุณจะป่วย จากการติดเชื้อ ไวรัสได้
* หมายเหตุ ในความเป็นจริง COVID-19 หรือ Coronavirus สามารถอยู่บนพื้นผิวสิ่งเหล่านั้นได้ โดยมีระยะเวลาดังนี้
– สามารถอยู่บนทองแดงได้มากถึง 4 ชั่วโมง
– สามารถอยู่บนกระดาษได้มากถึง 24 ชั่วโมง
– สามารถอยู่บนพลาสติก และ สแตนเลส ได้มากถึง 2-3 วัน
ควรทำ Pool Shock (เติมสารเคมีแบบเฉียบพลัน) ลงในสระว่ายน้ำหรือไม่ ?
เป็นความคิดที่ดี ที่คุณจะทำ Pool Shock เป็นประจำทุกสัปดาห์ หรือเป็นประจำเท่าที่คุณมีการเปิดใช้งานสระว่ายน้ำ เนื่องจากในสถานการณ์แพร่ระบาดในปัจจุบัน อาจมีเชื้อที่ติดมากับผู้ใช้บริการ โดยที่เราไม่สามารถรู้ได้เลย จึงเป็นการป้องกันที่เหมาะสม
ควรเพิ่มสารเคมีในการฆ่าเชื้อโรคเพิ่มจากเดิมเป็นพิเศษหรือไม่ ?
ไม่จำเป็นที่จะต้องเพิ่มสารเคมีให้มากขึ้นกว่าเดิม ตราบใดที่คุณรักษาระดับให้อยู่ในช่วงที่แนะนำ การเพิ่มสารเคมีในการฆ่าเชื้อโรคที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และดวงตา แทน และอาจจะทำให้ประสิทธิภาพในการฆ่าโคโรนาไวรัส หรือไวรัสใด ๆ ลดลงได้
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าใช้สารเคมีฆ่าเชื้อโรคอื่นที่ไม่ใช่คลอรีน หรือโบรมีน ?
จากคำกล่าวที่อ้างอิงของ CDC ที่กล่าวไว้ข้างต้น ว่าคลอรีน และโบรมีน นั้นสามารถกำจัดเชื้อไวรัส โคโรนาได้ แต่หากคุณใช้สารเคมีกำจัดเชื้อโรคชนิดอื่น ในการรักษาความสะอาด ตามปกติแล้วคุณสามารถใช้ได้ตราบเท่าที่คุณรักษาระดับที่ควรจะเป็น แต่เราขอแนะนำว่าในการกำจัดโคโรนาไวรัสออกจากสระว่ายน้ำ ควรให้เลือกใช้การช็อคด้วยคลอรีนจะได้ประสิทธิภาพ และเหมาะสมที่สุด
ควรฆ่าเชื้อโรคที่อาจอยู่พื้นผิวสระว่ายน้ำ หรือไม่?
คุณเข้าใจถูกต้องแล้ว ไม่ใช่แค่เพราะโคโรนาไวรัสเท่านั้น แบคทีเรียที่ชอบสภาพแวดล้อมที่ ชื้น ๆ และไวรัสทุกประเภทนั้น สามารถแฝงตัวอยู่บนพื้นผิว เช่น ราวบันไดสระว่ายน้ำ หรือพนักพิงศีรษะได้ ดังนั้นคุณควรทำความสะอาดพื้นผิวทั้งหมดที่ไม่จมอยู่ในน้ำ โดยใช้การฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาฟอกขาวแบบเจือจางโดยผสมสารฟอกขาว 5 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 แกลลอน (สารฟอกขาว 74 มล. ต่อ น้ำ 3.8 ลิตร) หรือสารฟอกขาว 4 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ควอร์ต (สารฟอกขาว 20 มล. ต่อลิตร 1 น้ำ)
ตราบใดที่สระว่ายน้ำเหล่านั้นได้รับการดูแล และฆ่าเชื้อโรคอย่างเหมาะสมก็จะมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง นอกจากคุณจะนำแถบทดสอบ หรือชุดทดสอบไปเอง แต่ปัญหาคือ แล้วคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำนั้นถูกสุขอนามัยหรือไม่ ? ซึ่งคุณสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ นั่นคือ
“เมื่อคุณเข้าใกล้สระว่ายน้ำสาธารณะ และคุณได้กลิ่นฉุนจากสระว่ายน้ำ หรือที่เรียกกันว่า “กลิ่นคลอรีน” แสดงว่าน้ำของสระว่ายน้ำนั้นไม่มีความเหมาะสมเพียงพอ เนื่องจากคลอรีนสัมผัสกับสารปนเปื้อน เช่น เหงื่อ ปัสสาวะ และ ของเหลวในร่างกายอื่น ๆ เมื่อแอมโมเนียในสารปนเปื้อนเหล่านี้ รวมเข้ากับคลอรีนที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค จะทำให้เกิดสารที่เรียกว่าคลอรามีน จากนั้นคลอรามีนจะปล่อยก๊าซออกสู่อากาศเหนือสระว่ายน้ำทำให้เกิดกลิ่นเหม็น”
สรุปได้ว่า กลิ่นคลอรีนนั้น เกิดจากคลอรีนที่ใช้แล้วซึ่งหมายความว่าในสระว่ายน้ำมีคลอรีนไม่เพียงพอที่จะฆ่าเชื้อโรคในน้ำ เพราะว่าถ้าหากสระว่ายน้ำที่มีการฆ่าเชื้อโรคอย่างเหมาะสมไม่ควรมีกลิ่นฉุนเลย
วิธีการป้องกัน COVID-19 ที่กล่าวมาข้างต้น อาจจะไม่สามาประป้องกันได้ 100% ขอแนะนำเพิ่มเติมว่าควรปฏิบัติตามแนวทาง และคำแนะนำด้านสาธารณสุข เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด สำหรับบุคคลที่ต้องออกนอกบ้านบ่อย ๆ พยายามหลีกเลี่ยง สถานที่ที่เป็นพื้นที่เสี่ยง พื้นที่แออัด หรือสถานที่ที่คนพลุกพล่าน รับรองได้ว่าวิธีการเหล่านี้ จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 ได้มากขึ้นอย่างแน่นอน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.swimuniversity.com/coronavirus/